ยุทธศาสตร์การพัฒนา

          ประเด็นยุทธศาสตร์

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1  ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

          กลยุทธ์
     1. การก่อสร้าง/การปรับปรุง/การบำรุงรักษาถนน สะพาน และการบำรุงสายทางอื่น (เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกในการเดินทาง มีความปลอดภัย สามารถเชื่อมโยงเส้นทางการจราจรระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำปาง การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองและพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอ การปรับปรุงเส้นทางคมนาคมให้สะดวกและปลอดภัยในการเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว
      2. การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร(เพื่อการประกอบอาชีพและใช้ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาระบบประปาหมู่บ้านให้มีมาตรฐานและทั่วถึง การพัฒนาระบบส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร การสร้างระบบธนาคารน้ำใต้ดิน)
      3. การไฟฟ้าสาธารณะ (เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะด้านไฟฟ้าอย่างทั่วถึง)
      4. การผังเมือง (ประสานการทำงานกับส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการจัดระบบผังเมืองให้ถูกต้องตามข้อระเบียบ/กฎหมาย)

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2  ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          กลยุทธ์
       1. การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การประชุม การฝึกอบรม การสัมมนา การให้ความรู้ การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม การเก็บ การทิ้ง การขนขยะที่ถูกวิธี การพัฒนาองค์ความรู้ในการใช้และจัดการเศษวัสดุทางธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฯลฯ เพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศน์ และไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน)
       2. การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การเฝ้าระวัง การป้องกันและการป้องกัน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กิจกรรมปลูกป่า การทำแนวกันไฟ การสนับสนุนกิจกรรมการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าโดยชุมชน กิจกรรมการกำจัดขยะ การรักษาดูแลแม่น้ำ กิจกรรมอื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการจัดการมลพิษ และการจัดการปัญหาขยะให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมโดยเน้นการบูรณาการ การตกลงร่วมกัน การมีส่วนร่วมระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาชน

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาสังคม/ชุมชน

          กลยุทธ์
        1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน (การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ให้ได้รับบริการสาธารณะที่เหมาะสม การสร้างสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณค่าและถ่ายทอดองค์ความรู้คู่ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนรุ่นหลัง การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว สถาบันทางสังคมอื่นๆ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐ โดยประสานการทำงานร่วมกับส่วนราชการ องค์กรภาคเอกชน องค์กรภาคประชาชน)
        2. การสนับสนุนการศึกษาและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนและประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการใช้ชีวิต การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ (โรบอท) เพื่อคิดค้นและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
        3. การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น (ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ การอนุรักษ์ และการเผยแพร่ให้ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่คู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัดลำปางตลอดไป)
        4. การป้องกัน/การรักษาและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน (ส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกาย เพื่อให้มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง ลดภาวะการเกิดโรคจากพฤติกรรม การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการรักษาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขของรัฐ โดยดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขและโรงพยาบาล ส่งเสริมการป้องกันรักษาสุขภาพของประชาชนผ่านการแพทย์ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ทางเลือก)
        5. การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน (ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี การเข้าถึงบริการของรัฐ การจัดระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนาสังคม/ชุมชน การพัฒนาระบบเครือข่ายทางสังคมที่ใช้เป็นช่องทางในการติดต่อประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลในการพัฒนาและการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน การสร้างความเสมอภาค การสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมชุมชน การป้องกันรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ โดยบูรณาการงานร่วมกับส่วนราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาชน)

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4  ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

          กลยุทธ์
        1. การส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน (การส่งเสริมการขายสินค้าออนไลน์ การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจตามทิศทางการตลาด การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการผลิต การส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้ทรัพยากรต้นทุนให้เหมาะสมกับพื้นที่ การส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย เกษตรปลอดสารพิษและเกษตรอินทรีย์ การปลูกและแปรรูปสมุนไพรไทย การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนประกอบอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว การส่งเสริมอาชีพที่สร้างเศรษฐกิจให้สังคม ชุมชน การเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น)
        2. การส่งเสริมการใช้สินค้าท้องถิ่นและการตลาด (ส่งเสริมให้ประชาชนใช้สินค้าที่ผลิตในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ทั้งสินค้าเกษตร สินค้าเซรามิค สินค้าหัตถอุตสาหกรรมที่ผลิตในจังหวัดลำปาง การจัดหาสถานที่จำหน่ายสินค้าจากชุมชนในระดับอำเภอและระดับจังหวัด รวมไปถึงการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการตลาดและช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า การประชาสัมพันธ์การใช้สินค้าชุมชนท้องถิ่น การจัดแสดงสินค้าชุมชนท้องถิ่นจังหวัดลำปาง)
        3. การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง (พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยว การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวหลากหลายมิติให้แตกต่างจากรูปแบบเดิม ๆ การสร้างงานให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับนักท่องเที่ยวในกิจกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เน้นอัตลักษณ์ที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนท้องถิ่น กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเส้นทางที่มุ่งสู่แหล่งท่องเที่ยว)

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5  ด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร

          กลยุทธ์
        1. การพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น (พัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการปฏิบัติงาน มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความเชื่อมั่น มีความจงรักภักดี และมีความภาคภูมิใจในองค์กร ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานอยู่เสมอ)
        2. การพัฒนางาน เครื่องมือ เครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน (การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาให้บริการประชาชนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในลักษณะ e-Service เช่น ระบบชำระภาษี ระบบศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาระบบเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมที่ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับประชาชนผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์  การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลในการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งหน่วยงานภาครัฐ /เอกชน/ประชาชน สร้างระบบฐานข้อมูลตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถบูรณาการและสนับสนุนการทำงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะ เช่น การประชุมทางไกล รวมไปถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการ เรียกใช้และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ที่ต้องการรวมไปถึงการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความพร้อมของสถานที่ปฏิบัติงาน เช่น อาคารรองรับการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน การจัดหาสถานที่รองรับภารกิจต่างๆ การจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อรองรับภารกิจการให้บริการสาธารณะในอนาคต

           ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอ้อน

          องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอ้อน ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน โดยกระบวนการประชาคม ให้มีการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาคม “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ”  โดยยึดหลักประสานความร่วมมือจากกลุ่มองค์กรหลัก  คือ กลุ่ม/องค์กร ประชาชน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาคมอย่างมีส่วนร่วม  โดยใช้กระบวนการประชาคมกระตุ้นและระดมความคิดจากประชาชน  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการจัดทำวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การพัฒนา และการบริหารงานโดยยึดธรรมาภิบาล คือ นิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบ และความคุ้มค่า 

 

 

Copyright © 2021. All Rights Reserved.